 |
|
|
|
|
|
ตำบลท่างิ้วเป็นชุมชนหนึ่งซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยอาศัยริมฝั่งแม่น้ำปิง เป็นสถานที่ตั้งชุมชน เนื่องจากในอดีตการเดินทางไปมาระหว่างชุมชน ส่วนใหญ่ใช้การเดินทางโดยเรือ อาศัยแม่น้ำเป็นเส้นทางหลัก ราษฎรส่วนใหญ่ของตำบลมีเชื้อสายจีน
อาชีพที่ทำส่วนมากคือการค้าขาย สินค้าที่สำคัญ คือ " ข้าว"
ดังนั้น ตลอดแนวลำน้ำที่เป็นแหล่งชุมชนของท่างิ้วจึงมีท่าน้ำขนาดเล็กใหญ่ สำหรับเป็นที่จอดเรือขนถ่ายสินค้าจำนวนหลายท่า จึงสันนิษฐานว่าชื่อตำบล "ท่างิ้ว"
น่าจะเกิดจากลักษณะทางกายภาพของชุมชนที่มีท่าน้ำมาก ส่วนคำว่า "งิ้ว" สันนิษฐานว่า ที่ท่าน้ำหลักของชุมชนอาจจะมี "ต้นงิ้ว" จึงเกิดเป็นสัญลักษณ์ที่มีผู้คนในสมัยนั้นรับรู้โดยทั่วกัน หรือ "งิ้ว" อาจจะเป็นสัญญาลักษณ์ที่เรียกคนจีน
ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของชุมชน ยังหาข้อสรุปที่แน่ชัดไม่ได้ |
|
|
|
|
|
|
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว ตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่ 1 ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60180 พิกัดทางภูมิศาสตร์ 15.93132,99.955426 มีพื้นที่ประมาณ 45.11 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 28,193.75 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอบรรพตพิสัยไปทางทิศตะวันตก เป็นระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.บ้านแดน อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.หูกวาง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
ต.อ่างทอง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.ตาสัง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
ต.เจริญผล อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์
ต.บางตาหงาย อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.บ้านไร่ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์
ต.เนินขี้เหล็ก อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ |
|
|
|
     |
|

 |
|
|
|
|
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินมีการระบายน้ำเร็ว เป็นดินเนื้อละเอียดหรือดินเหนียว มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางเหมาะแก่การทำนา และปลูกพืชผักต่างๆ เช่น อ้อย ถั่วเขียว ถั่วเหลือง เป็นต้น
มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำปิง คลองตั้วเกา คลองแง่ง และ คลองกระดาน ซึ่งราษฎรสามารถทำนา ได้ปีละ 2-3 ครั้ง |
|
|
|
|
|
|
ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน ถึง เดือนตุลาคม |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์ |
|
|
|
|
|
|

 |
เกษตรกรรม-ทำนา |

 |
เกษตรกรรม-ทำไร่ |

 |
เกษตรกรรม-ทำสวน |

 |
เกษตรกรรม-ปศุสัตว์ |

 |
รับราชการ |

 |
พนักงานรัฐวิสาหกิจ |

 |
พนักงานบริษัท |

 |
รับจ้างทั่วไป |

 |
ค้าขาย |

 |
ธุรกิจส่วนตัว |

 |
อาชีพอื่นๆ |

 |
กำลังศึกษา |

 |
ไม่มีอาชีพ |
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 4,277 คน แยกเป็น |
|

 |
ชาย จำนวน 2,102 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.15 |
|

 |
หญิง จำนวน 2,175 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.85 |
|
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,188 ครัวเรือน |
|
ความหนาแน่นเฉลี่ย 94.81 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านตั้วเกา |
557 |
584 |
1,141 |
338 |
|
 |
2 |
|
บ้านส้มเสี้ยว |
59 |
66 |
125 |
30 |
 |
|
3 |
|
บ้านท้องคุ้ง |
316 |
335 |
651 |
154 |
|
 |
4 |
|
บ้านหนองน้ำเขียว |
747 |
782 |
1,529 |
422 |
 |
|
5 |
|
บ้านหนองสังข์ |
242 |
234 |
476 |
144 |
|
 |
6 |
|
บ้านประดู่งาม |
181 |
174 |
355 |
100 |
 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
รวม |
2,102 |
2,175 |
4,277 |
1,188 |
 |
|
|

 |
|
 |
|